fbpx

เรียนรู้และเข้าใจก่อนเริ่มต้นทำประกันอัคคีภัยบ้าน

เรียนรู้และเข้าใจก่อนเริ่มต้นทำประกันอัคคีภัยบ้าน

เรียนรู้และเข้าใจก่อนเริ่มต้นทำประกันอัคคีภัยบ้าน
เรียนรู้และเข้าใจก่อนเริ่มต้นทำประกันอัคคีภัยบ้าน

1.ต้องครอบคลุมมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง

 การทำประกันภัยที่อยู่อาศัยควรทำให้ครอบคลุมมูลค่าโครงสร้างบ้านและทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง ไม่ควรทำต่ำกว่าหรือเกินกว่ามูลค่าที่แท้จริง เพราะการเคลมประกันภัย บริษัทจะจ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่จะไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้ทำประกันไว้  บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ หลักการประกันภัยที่อยู่อาศัย ว่าเราควรทำทุนประกันมูลค่าเท่าไหร่ถึงจะครอบคลุม ขอยกตัวอย่างเช่น ซื้อบ้านพร้อมที่ดินมาในราคา 10,000,000 บาท ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติม 1,000,000 บาท เราต้องแยกมูลค่าโครงสร้างของตัวบ้านออกจากราคาที่ดิน หากราคาที่ดินมีมูลค่า 5,000,000 บาท โครงสร้างของบ้านมีมูลค่า 5,000,000 บาท ถ้าเราทำประกันภัยจะใช้ทุนประกันภัย 6,000,000 บาท (โครงสร้าง 5,000,000+เฟอร์นิเจอร์ 1,000,000) คือทุนที่ครอบคลุมมูลค่าทรัพย์สิน  ทำให้เราไม่เสียประโยชน์หากมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าหากว่าเราทำทุนประกันตามราคาที่เราซื้อมา คือ บ้านพร้อมที่ดิน 10,000,000+เฟอร์นิเจอร์ 1,000,000 บาท รวมเป็นทุนประกัน 11,000,000 บาท ในกรณีนี้เราจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยที่สูงขึ้น เกินความจำเป็น ซึ่งผิดหลักประกันภัย หากเกิดความเสียหายขึ้นมา 100% หน่วยประเมินความเสียหายของบริษัทประกันภัย ได้ประเมินความเสียหายจริงที่เกิดขึ้น เป็นมูลค่า 6,000,000 บาท บริษัทจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพียง 6,000,000 บาท ตามความเสียหายจริง ส่วนเบี้ยแพงที่จ่ายไปคือเสียเปล่า เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรทำทุนที่ 6,000,000 บาทนั้นเหมาะสมแล้ว

2.ทำประกันอัคคีภัยบ้านน้อยกว่ามูลค่าจริงได้ไหม

จากตัวอย่างข้างต้น หากผู้ซื้อประกันต้องการทำทุนประกันต่ำกว่ามูลค่าจริง แต่ไม่ควรทำต่ำกว่า 80%ของมูลค่าจริง ทุน 6,000,000 คือ ทุน 100% ถ้า 4,800,000 คือ ทุน 80% หากเกิดกรณีเคลมมีความเสียหายทั้งหมดขึ้นมา แม้บริษัทจะประเมินความเสียหายเป็นมูลค่า 6,000,000 บาทก็ตามแต่จะได้รับค่าสินไหมทดแทน 4,800,000 บาท ตามทุนประกัน แสดงว่าผู้ซื้อประกันต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนต่างไว้เองจำนวน 1,200,000 บาท แต่ถ้าหากซื้อประกันอัคคีภัยที่ต่ำกว่า 80%ของมูลค่า เช่นทำทุนประกันภัยที่ 3,000,000 บาทคิดเป็น 50% ของมูลค่าทรัพย์สิน ภายหลังเกิดความเสียหายต่อบ้านและทรัพย์สินภายในทั้งหมด ประเมินความเสียหายทั้งหมดเป็นจำนวน 6,000,000 บาท จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพียง 1,500,000 บาท (3,000,000*50%) จะทำให้ผู้ซื้อประกันภัยต้องรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นในส่วนต่าง คือ 4,500,000 บาท 

3.ประกันอัคคีภัยบ้านคุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจาก                                                 

1.ไฟไหม้ รวมถึงไฟไหม้ป่า พุ่มไม้ พงรก และการเผาป่าเพื่อปราบพื้นที่
2.
ฟ้าผ่า รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
3.
การระเบิดทุกชนิด
4.
ภัยจากยานพาหนะ หรือช้าง ม้า วัว ควาย
จากการชนโดยยานพาหนะต่าง ๆ (รวมถึงช้าง ม้า วัว ควาย)
แต่ต้องไม่ใช่ยานพาหนะของผู้เอาประกันภัย
5.
ภัยจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน
จากการชน หรือตกใส่
ตัวอากาศยาน หรือ ของที่ตกจากอากาศยาน
อากาศยาน ให้หมายรวมถึง จรวด และยานอวกาศด้วย
6.
ภัยเนื่องจากน้ำ
เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ
จากการปล่อย รั่วไหล ล้น
จากท่อน้ำ ถังน้ำฯ รวมถึงน้ำฝนที่ผ่านเข้าทางอากาศที่ชำรุด
แต่ไม่รวมถึง น้ำท่วม และท่อประปาที่แตกนอกอาคาร

4.ภัยที่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้        

หากความคุ้มครองที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ อาจจะเป็นจำนวนทุนประกันในแต่ละภัยหรือยังไม่ครอบคลุมภัยท่เราต้องการสามารถซื้อประกันภัยเพิ่มเติมได้ ภัยที่นิยมซื้อเพิ่มเติมได้แก่ ภัยน้ำท่วมและภัยโจรกรรม                   

1.ภัยลมพายุ

2.ภัยจากลูกเห็บ                 

3.ภัยจากควัน                  

4.ภัยแผ่นดินไหว                  

5.ภัยน้ำท่วม                  

6.ภัยจลาจลและนัดหยุดงาน    

7.ภัยเนื่องจากป่าเถื่อนและการกระทำด้วยเจตนาร้าย                    

8.ภัยระอุ      

9.ภัยระอุที่มีการลุกไหม้ / ระเบิด    

10.ภัยต่อเครื่องไฟฟ้า

 11.ภัยโจรกรรม

5.เลือกระยะเวลาคุ้มครองแบบไหนดี

ประกันอัคคีภัยบ้านส่วนใหญ่จะมีให้เราเลือกระยะเวลาคุ้มครอง 1 – 5 ปี   ระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี จะมีค่าเบี้ยประกันในอัตรา 100% หากซื้อระยะเวลา 2 ปี จะคิดในอัตราที่ลดลงน้อยกว่า ทำให้ระยะเวลาคุ้มครอง 2 ปี ถูกกว่าระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี หากทำระยะเวลาคุ้มครอง 5 ปียิ่งจะทำให้ค่าเบี้ยประกันภัยถูกลงไปอีกหากนำมาคิดเปรียบเทียบหารเฉลี่ยต่อปีและยังทำให้ไม่ต้องทำเรื่องต่อประกันภัยทุกๆปีอีกด้วย

Leave a Comment