fbpx

5 คำถามและคำตอบ คลายความสงสัยเกี่ยวกับประกันอัคคีภัย

5 คำถามและคำตอบ คลายความสงสัยเกี่ยวกับประกันอัคคีภัย

ประกันอัคคีภัย อาจจะเรียกได้ว่าเป็นประกันภัยประเภทที่ผู้คนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก ทำให้เกิดข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับประกันชนิดนี้ตามมามากมาย เช่น ประกันอัคคีภัยคุ้มครองอะไรบ้าง จำเป็นต้องทำหรือควรทำดีหรือไม่ ? วันนี้เรามี 5 คำถามคำตอบที่พบบ่อยมาช่วยคลายความสงสัยให้กับทุกคน ดังต่อไปนี้

คำถามที่ 1 การทำประกันอัคคีภัยและประกันทรัพย์สิน มีลักษณะอย่างไรและมีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง?

คำตอบ : เพื่อให้ข้อมูลตรงกับความต้องการของผู้เอาประกันภัยที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งประเภทสำหรับเป็นแนวทางในการเลือกตัดสินใจเลือกทำประกันภัยให้เหมาะสมกับทรัพย์สินและความเสียหาย ดังต่อไปนี้

การประกันอัคคีภัย สำหรับบ้าน ที่อยู่อาศัยในที่นี้หมายถึงต้องใช้เฉพาะการอยู่อาศัยอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีการทำธุรกิจหรือเก็บสต็อกสินค้าใด   ในกรณีที่มีการประกอบการใด   จะต้องเลือกใช้ในประเภทประกันภัยในสถานประกอบการ

การประกันอัคคีภัยสำหรับสถานประกอบการ เช่น เมื่อทำการค้าขายสินค้าออนไลน์ต่าง โดยมีการเก็บสต็อกสินค้าซึ่งเรียกได้ว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและส่งผลเสียหายต่อธุรกิจ ก็สามารถนำความเสี่ยงดังกล่าวมาทำประกันภัยได้

การประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เหมาะกับทรัพย์สินหรือสถานประกอบการที่มีมูลค่าสูง

ที่ต้องแบ่งประเภทตามข้างต้นก็เพราะแต่ละหัวข้อมีความเสี่ยงภัยที่ไม่เท่ากันจึงมีผลต่ออัตราเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บตามความเสี่ยงภัยนั้นด้วย

คำถามที่ 2 เบี้ยประกันอัคคีภัย ถูกหรือแพงและขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง?

คำตอบ : นี่ก็เป็นอีกประเด็นที่หลายคนสงสัยเพราะประกันภัยมีราคาไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้าน โดยจะขอยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

ลักษณะการใช้สถานที่ เช่นบ้านอยู่อาศัย อัตราเบี้ยถูกกว่าสถานที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจ

ลักษณะสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่ตั้งทรัพย์สินจะเป็นไปตามมูลค่าของวัสดุที่ใช้สำหรับโครงสร้าง ผนัง และพื้นของอาคาร เช่น อาคารคอนกรีตล้วน เบี้ยถูกกว่าอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้

ลักษณะภัยของสถานที่ตั้งที่เอาประกันภัยว่าตั้งอยู่แบบภัยโดดเดี่ยวหรือเป็นอาคารแบบกลุ่ม

สำหรับความหมายชองภัยโดดเดี่ยวก็คือ รอบบริเวณที่เอาประกันไม่ติดกับสิ่งปลูกสร้างอื่น จึงไม่มีความเสียงภัยจากรอบข้าง ทำให้ไม่เสียอัตราเบี้ยเพิ่มในความเสียงภัยจากภัยนอก 

การติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงก็เป็นอีกองค์ประกอบที่ใช้กำหนดเป็นส่วนลดเบี้ยประกันภัยได้เช่นกันโดยจะมีข้อกำหนดของอุปกรณ์แต่ละชนิด

คำถามที่ 3 ประกันอัคคีภัย ต่างจากการประกันการเสี่ยงภัยทรัพย์สินอย่างไร?

คำตอบ :  เพื่อให้เห็นอย่างชัดเจนในเงื่อนไขความคุ้มครองซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ จึงทำการสรุปประเด็นหลักๆที่สำคัญให้ทราบถึงเงื่อนไขความคุ้มครองโดยรวม ที่อาจมีความจำเป็นในยามที่เกิดอุบัติภัยโดยไม่คาดคิด และผู้เอาประกันสามารถใช้สิทธิ์ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ในการนำค่าสินไหมมาบรรเทาความเสียหายได้  ดังต่อไปนี้

การประกันอัคคีภัย เป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองแบบระบุภัยที่คุ้มครอง (Named Peril) เช่นอัคคีภัยและภัยธรรมชาติตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ เช่น ฟ้าผ่าและพายุ

การประกันการเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) เป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุจากสาเหตุภายนอกใด ก็ตาม ที่มิได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ สำหรับเงื่อนไขนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในธุรกิจที่มีทุนประกันสูง

คำถามที่ 4 จะทราบได้อย่างไรว่า กรมธรรม์อัคคีภัยหรือประกันทรัพย์สิน ได้รับความคุ้มครองหรือไม่?

คำตอบ : แนวทางในการดูว่ากรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันได้ทำไว้ ได้รับความคุ้มครองหรือไม่ในเบื้องต้น ก็คือ

อย่างแรก ต้องดูว่าภัยหรือเหตุที่เกิดได้รับความคุ้มครองหรือไม่เป็นประเภทที่มีการระบุอยู่ในกรมธรรม์ว่าได้รับความคุ้มครองหรือไม่ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองหรือหากไม่แน่ใจก็สอบถามบริษัทที่ซื้อประกันภัยก็ได้

อย่างที่สอง ในกรณีภัยอุบัติภัยที่เกิดขึ้นอยู่ในความคุ้มครองของประกันภัยก็ต้องดูต่อว่าทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ได้ระบุไว้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์หรือไม่ โดยทรัพย์สินที่สามารถ เลือกทำประกันหรือทำทั้งหมดได้ มีดังนี้

สิ่งปลูกสร้างหรือหรือตัวอาคาร ไม่รวมรากฐาน

เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง ติดตั้งตรึงตรา ค่าตกแต่งปรับปรุงหรือต่อเติม รวมเครื่องใช้อื่น

อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน

สต็อกสินค้า หรือทรัพย์สินที่อยู่ในการดูแลรักษาในฐานะผู้รักษาทรัพย์

ทั้งนี้ เมื่อทรัพย์สินเกิดความเสียหาย ควรแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบทันที จากนั้นจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่อย่างไรประกันจะมีหน้าที่ตรวจสอบและแจ้งให้ทราบ

คำถามที่ 5 การทำประกันที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกประโยชน์ให้สถาบันการเงิน ควรตรวจสอบข้อมูลอะไรบ้าง?

ในกรณีที่มีการกู้ยืม หรือเช่าซื้อทรัพย์สินผ่านสถาบันการเงินหรือธนาคาร และมีการแจ้งทำประกันให้แล้ว ก็มีความจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลดังนี้

เงื่อนไขความคุ้มครองที่ทำให้ได้ว่ารับความคุ้มครองเพียงพอหรือไม่

จำนวนเงินเอาประกันภัยหรือทุนประกันเพียงพอหรือไม่ เพราะบางครั้งเจ้าหน้าที่จะทำให้เฉพาะส่วนที่ติดภาระ

กรณีไม่เพียงพอ สามารถขอทำเพิ่ม ให้เพียงพอไม่ต้องกังวลเรื่องส่วนที่ระบุให้ผู้รับประโยชน์ เพราะมีใจความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่แล้ว 

นอกจากนี้ยังควรขอสำเนากรมธรรม์เก็บไว้ เพื่อทราบการหมดอายุ และควรติดตามการต่ออายุกรมธรรม์ เพราะอาจมีกรณีที่ขาดต่ออายุ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้น ยังถือเป็นหน้าที่ของท่านที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินและยังต้องรับผิดชอบการผ่อนชำระตามเดิม อีกอย่างหนึ่งก็คือทุกคนสามารถเลือกทำประกันเพิ่มกับบริษัทประกันอื่น นอกเหนือจากที่ธนาคารทำให้ได้อีก  กรณีต้องการความคุ้มครองเพิ่มขึ้น โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบว่าเคยมีประกันมาแล้วอย่างไรบ้าง

Leave a Comment